ดาวน์โหลดข้อมูลจังหวัดสมุทรปราการ โปรดคลิก

 

 vishnu
คำบูชาพระวิษณุ
อะหังวะโตพระวิษณุเถโร
อะโตวะหังนิติวะตัง
ลาภังวะโส
 sptc2
:: ประวัติวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ::
จากอดีตสู่ปัจจุบัน

 

สถานที่ตั้ง
  • วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • ตั้งอยู่เลขที่ 336 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280
  • โทร. 0-2323-9009,0-2323-9680,0-2323-9764,0-2323-9917
  • โทรสาร. 0-2323-9010

 

ความเป็นมา
  • วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เดิมเคยเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการสอนอาชีพช่างไม้ และช่างจักสาน ให้กับนักเรียนที่จบชั้นป.4 โรงเรียนแต่เดิมตั้งอยู่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
  • พ.ศ.2481 โรงเรียนช่างไม้สมุทรปราการตั้งอยู่ที่เชิงสะพานมหาวงษ์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ รับนักเรียนจบ ป.4 เข้าเรียนวิชาช่างไม้ 30 คน หลักสูตร 3 ปี ได้วุฒิมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ.2497 รับนักเรียน จบ ม.3เข้าเรียนต่อวิชาช่างไม้ 3 ปี ได้วุฒิมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ.2503 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสมุทรปราการขยายหลักสูตรอีก 3 ปี เป็นมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง ต่อมาเรียก ม.ศ.ปลายอาชีพ
  • พ.ศ.2510 กรมอาชีวศึกษาได้นำโรงเรียนการช่างสมุทรปราการ เข้าอยู่ในโครงการ เงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา และมีการจัดหาสถานที่ใหม่
  • พ.ศ.2512 เปิดสอนแผนกวิชาช่างกลโรงงานขึ้นอีกหนึ่งแผนก ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา มีการสร้างอาคารใหม่ จัดหาเครื่องจักร และจัดหาครูเพิ่มขึ้น
  • พ.ศ.2513 ย้ายโรงเรียนมาอยู่ 336 ถนนสุขุมวิท กม.36 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มีเนื้อที่ประมาณ 75 ไร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 8 กม. ได้เปิดรับนักเรียนเพิ่มอีก 4 แผนก คือ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุและช่างเชื่อมและโลหะแผ่น รวมเป็น6แผนกวิชา รับนักเรียนแผนกละ 25 คน
  • พ.ศ.2514 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคนิคสมุทรปราการ เปิดสอนหลักสูตร ปวช มี 6แผนกวิชา คือ ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างยนต์และช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
  • พ.ศ.2516 เปิดสอนระดับ ปวส.4แผนก คือ ช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
  • พ.ศ.2519 เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาเขต 1" เปิดสอนระดับ ปวส.ช่างยนต์ และช่างกลโรงงาน
  • พ.ศ.2520 สร้างอาคาร 4 ชั้นขึ้น 1 หลัง(อาคาร1) เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง
  • พ.ศ.2521 ย้ายวิทยาลัยอาชีวศึกษาสมุทรปราการ วิทยาลัย 2 (โรงเรียนการช่างสตรีสมุทรปราการ) มาอยู่อาคาร 1 มีความเป็นมาดังนี้
  • พ.ศ.2497 โรงเรียนการช่างสตรีสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณวัดในเดิม 2 วิหาร เปิดรับนักเรียนจบ ม.3 เข้าเรียน 1ชั้น หลักสูตร 3ปี เปิดสอนแผนกการช่างสตรี ในวิชาเอก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ ศิลปประดิษฐ์ เสริมสวย ปฎิบัติสำนักงาน
  • พ.ศ.2498 ย้ายมาในที่ของวัดในเดิมสองวิหารบางส่วน และสร้างโรงฝึกงานแผนกศิลป 1 หลัง
  • พ.ศ.2507 เปิดสอนแผนกศิลปหัตถกรรมเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนกในโครงการ ยูนิเชฟ
  • พ.ศ.2519 เปิดสอนแผนกพณิชยการเพิ่มอีก 1 แผนก และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสมุทรปราการ เขต 2"
  • พ.ศ.2520 เปิดสอนระดับ ปวส.ในแผนกคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
  • พ.ศ.2523 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เปิดรับนักศึกษาพณิชยการเพิ่มขึ้น มีทั้งรอบเช้าและรอบบ่าย สร้างอาคาร 4 ชั้น ของคณะคหกรรมศาสตร์ เปิดสอน ปวส.แผนกช่างวิทยุและโทรคมนาคม
  • พ.ศ.2524 แผนกพณิชยการ รับนักเรียนเพิ่ม 4 ห้อง ใช้หลักสูตร ปวช2524 เปิดสอน ปวท.แผนกวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล
  • พ.ศ.2527 คณะบริหารธุรกิจ เปิดรับ ปวส.เละปวท. สาขาบริหารธุรกิจ และระดับ ปวท.แผนกวิชาช่างไฟฟ้า และบริหารธุรกิจและได้รับครุภัณฑ์สำนักงานและเครื่องพิมพ์ดีด สร้างอาคาร 3ชั้น คณะศิลปหัตถกรรม และแผนกวิชาเขียนแบบเครื่องกล
  • พ.ศ.2530 เริ่มโครงการจัดตั้งคณะวิขาเทคนิคการผลิต ตามมาตราฐานอุตสาหกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย UNDP และ TLO ใน4สาขา
    - TOOL & DIE MAKING AND HEAT TREATMENT
    - CAD/CAM-NC/CNC PROGRAMMING
    - METROLOGY&QUALTTY CONTRAC
    - PLASTIC TRANSFoRMATION TECNOLOGY
  • พ.ศ.2531 ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ประเภทวิทยาลัยเทคนิคระดับชาติ และได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานเทคนิคการผลิต 2 หลัง
  • พ.ศ.2533 เปิดสาขาเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม ร่วมมือกับบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทยจำกัด เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาช่างยนต์
  • พ.ศ.2534 ได้รับงบประมาณปรับปรุงสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรม ได้แก่ ช่างเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม เทคนิคอุตสาหกรรม ช่างกลโรงงาน อิเล็กทรอนิกส์
  • พ.ศ.2536 ร่วมมือกับบริษัท ซัมมิท โอโต้ บอดี้ อินดัสตรี จำกัด บริษัท เอส เอ็น เอ็น อุปกรณ์และแม่พิมพ์ จำกัด รับนักศึกษาระดับ ปวส.สาขา CAD/CAM-CNC เข้าฝึกงานตามหลักสูตรระดับ
  • พ.ศ.2537 รับฝากนักเรียนระดับ ปวช.จากวิทยาลัยกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ จำนวนปีละ 80 คน เป็นระยะประมาณ 3 ปี
    เริ่มโครงการช่วยเหลือ THAI CANADIANGASTRAININGCENTERระหว่างประเทศแคนาดา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเพื่อเตรียมรับนักศึกษาระดับ ปวส.สาขาเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติพ.ศ.2540 เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาเทคโนโลยีก๊าซธรมชาติเปิดสอนระดับ ปวส.สาขาเทคนิคช่างกลเรือพาณิชย์ ตามโครงการร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษากับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
  • พ.ศ.2541 วิทยาลัยมีอายุครบ 60 ปี จำนวน9คณะ 22 แผนกวิชา เปิดทำการสอน 4 ประเภทวิชา คือ ช่างอุตสาหกรรม คหกรรมศาสตร์ ศิลปหัตถกรรรม และบริหารธุรกิจระดับ ปวช ปกติมี 10 สาขาวิชา 8 กลุ่มวิชาชีพ ระดับ ปวช ทวิภาคี 7 สาขาวิชา 4 กลุ่มวิชาชีพ ระดับ ปวส.12 สาขาวิชา 15 สาขางาน 3 กลุ่มวิชา จัดการเรียนการสอน 3 ระบบคือ ระบบปรกติ ระบบทวิภาคี และระบบภาคสมทบ
  • 2542 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นมาตรฐานอาชีวศึกษา
  • 2543 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นมาตรฐานอาชีวศึกษา
  • 2545 เปิดคณะวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส.
  • 2546 เปิดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี ในระดับ ปวส.
  • 2547 ร่วมมือกับประเทศสวีเดน เตรียมการเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการพัฒนาบุคลากรโดยการส่งครู – อาจารย์ไปศึกษาต่อประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 2548 เปิดสอนสาขาวิชาการท่องเที่ยวและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีในระดับ ปวช.
  • 2549 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยฯ พระราชทาน (วิทยาลัยฯ ขนาดใหญ่) และได้รับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ด้วยคะแนน 4.31
  • 2550 เปิดสอนสาขาวิชาวิชาอุตสาหกรรมฟอกหนัง ระดับ ปวช. ในระดับทวิภาคี
  • 2551 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตซอลชายในการแข่งขันกีฬาอาชีวะเกมส์ กีฬาของคนพันธุ์ R ระดับชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการนำเสนอภาษาอังกฤษในการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพ ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร
  • 2552 ได้รับรางวัลที่ 1 การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ระดับภาค สาขาออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD) ประเภทเยาวชน
  • 2555 ผ่านเกณฑ์การประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ในระดับดีมาก พบว่าผลประเมินในภาพรวมมีค่าคะแนนเท่ากับร้อยละ 91.22 หนังสือรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2555
  • พ.ศ. 2556
    - กำหนดวิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของวิทยำลัยฯ ขึ้นใหม่เพื่อพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
    - ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหำวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน (Master of Engineering Program in Sustainable Industrial Management Engineering)
    - จัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีทุกสาขาวิชา
    - จัดการเรียนการสอนระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์งานวิชาชีพ
    - ลงนามความร่วมมือทำงวิชาการพัฒนาบุคลากรด้านอาหารและโภชนาการ ช่างอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างและบริหารธุรกิจ กับ บริษัทเด็กโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
    - ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย เตรียมความพร้อมบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม (ต้นน้ำ)
    - ลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษา SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย ในการสื่อสังคมออนไลน์ Edmodo
    - ได้รับการประเมินสถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556 ระดับ 5 ดาว Model C ในสาขาวิชาอุตสาหกรรมฟอกหนัง
    - จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อครูที่ปรึกษา
    - เปลี่ยนรูปแบบเครื่องแต่งกายนักเรียน นักศึกษา
    - ได้รับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ประจำปี 2556 ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาของจังหวัดสมุทรปราการ
    - ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลทำประโยชน์แก่สังคม โล่รางวัลผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องศึกษาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    - สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ประจำปี 2556
  • พ.ศ. 2557
    - เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
    - ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ T-TEP กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 10 แห่ง เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านช่างบริการยานยนต์
    - ลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษากับหอการค้าเยอรมัน-ไทย (German-Thai Chamber of Commerce)
    - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญเหล่าสมุทร
    - รับเลือกจาก CPSC เพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพระดับ ASIA PACIFIC
    - ลงนามความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพนักศึกษาเทคโนโลยียานยนต์กับบริษัท Mercedes Benz (ประเทศไทย) จำกัด
    - จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีภาคพิเศษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์
    - ผ่านการประเมินคุณภาพภายในจากหน่วยงานต้นสังกัด (สอศ.) พ.ศ. 2556 ระดับดีมาก
  • พ.ศ. 2558
    - จัดการเรียนการสอน “ทวิศึกษา” ร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    - สร้างอาคาร 4 ชั้น (อาคารปฏิบัติการอเนกประสงค์พร้อมครุภัณฑ์พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตร.ม.) 1 หลัง (อาคาร 9)
  • พ.ศ. 2559
    - เปิดสอนระดับ ปวส. สาขางานช่างอากาศยาน และเทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง
    - เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ ร่วมกับบริษัท Mercedes Benz (ประเทศไทย) จำกัด
    - จัดการเรียนการสอน “ทวิศึกษา” สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 1 และสาขางานการบัญชี โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า
    - ลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษาสาขางานจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กอเนกประสงค์ กับ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพเครื่องยนต์เล็ก

ผู้อำนวยการ
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ

จ่าสิบเอก ดร.สมพร  ชูทอง

บริการสารสนเทศ

rms2016
rms2016
rms2016



สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์

932696
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
296
262
1234
929657
7853
7042
932696

Your IP: 44.220.41.140
2024-03-28 21:16

Facebook งานประชาสัมพันธ์ฯ

JSN Decor is designed by JoomlaShine.com