คำบูชาพระวิษณุ
อะหังวะโตพระวิษณุเถโร
อะโตวะหังนิติวะตัง
ลาภังวะโส
สถานที่ตั้ง
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งอยู่เลขที่ 336 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 0-2323-9009,0-2323-9680,0-2323-9764,0-2323-9917
โทรสาร. 0-2323-9010
ปรัชญา : ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ
อัตลักษณ์ : มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์
เอกลักษณ์ : ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
วิสัยทัศน์ : สถานศึกษาแห่งคุณธรรม นำความรู้ มุ่งสู่มาตรฐานความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ
พันธกิจ
1. ผลิตนักเรียน นักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ และการประยุกต์ใช้ เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา และมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. พัฒนาการบริหารจัดการอาชีวศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3. เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยความร่วมมือของบุคคล ชุมชนและสถานประกอบการ
4. พัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีสมรรถนะเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
2. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาให้มีทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
4. ส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านหลักสูตรฐานสมรรถนะ
5. จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. ให้การบริหารจัดการสถานศึกษาด้านบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และงบประมาณ
7. พัฒนาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
8. ให้บริการวิชาการและวิชาชีพ
9. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมอาชีวศึกษา
10. พัฒนาศักยภาพศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการการอาชีวศึกษา
:: ประวัติวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ::
จากอดีตสู่ปัจจุบัน
- วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เดิมเคยเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการสอนอาชีพช่างไม้ และช่างจักสาน ให้กับนักเรียนที่จบชั้นป.4 โรงเรียนแต่เดิมตั้งอยู่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
- พ.ศ.2481 โรงเรียนช่างไม้สมุทรปราการตั้งอยู่ที่เชิงสะพานมหาวงษ์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ รับนักเรียนจบ ป.4 เข้าเรียนวิชาช่างไม้ 30 คน หลักสูตร 3 ปี ได้วุฒิมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น
- พ.ศ.2497 รับนักเรียน จบ ม.3เข้าเรียนต่อวิชาช่างไม้ 3 ปี ได้วุฒิมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย
- พ.ศ.2497 โรงเรียนการช่างสตรีสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณวัดในเดิม 2 วิหาร เปิดรับนักเรียนจบ ม.3 เข้าเรียน 1ชั้น หลักสูตร 3ปี เปิดสอนแผนกการช่างสตรี ในวิชาเอก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ ศิลปประดิษฐ์ เสริมสวย ปฎิบัติสำนักงาน
- พ.ศ.2498 ย้ายมาในที่ของวัดในเดิมสองวิหารบางส่วน และสร้างโรงฝึกงานแผนกศิลป 1 หลัง
- พ.ศ.2503 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสมุทรปราการขยายหลักสูตรอีก 3 ปี เป็นมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง ต่อมาเรียก ม.ศ.ปลายอาชีพ
- พ.ศ.2507 เปิดสอนแผนกศิลปหัตถกรรมเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนกในโครงการ ยูนิเชฟ
- พ.ศ.2510 กรมอาชีวศึกษาได้นำโรงเรียนการช่างสมุทรปราการ เข้าอยู่ในโครงการ เงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา และมีการจัดหาสถานที่ใหม่
- พ.ศ.2512 เปิดสอนแผนกวิชาช่างกลโรงงานขึ้นอีกหนึ่งแผนก ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา มีการสร้างอาคารใหม่ จัดหาเครื่องจักร และจัดหาครูเพิ่มขึ้น
- พ.ศ.2513 ย้ายโรงเรียนมาอยู่ 336 ถนนสุขุมวิท กม.36 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มีเนื้อที่ประมาณ 75 ไร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 8 กม. ได้เปิดรับนักเรียนเพิ่มอีก 4 แผนก คือ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุและช่างเชื่อมและโลหะแผ่น รวมเป็น6แผนกวิชา รับนักเรียนแผนกละ 25 คน
- พ.ศ.2514 เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคนิคสมุทรปราการ เปิดสอนหลักสูตร ปวช มี 6แผนกวิชา คือ ช่างก่อสร้าง ช่างกลโรงงาน ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างยนต์และช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- พ.ศ.2516 เปิดสอนระดับ ปวส.4แผนก คือ ช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
- พ.ศ.2519 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาเขต 1” เปิดสอนระดับ ปวส.ช่างยนต์ และช่างกลโรงงาน
- พ.ศ.2520 สร้างอาคาร 4 ชั้นขึ้น 1 หลัง(อาคาร1) เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง
- พ.ศ.2521 ย้ายวิทยาลัยอาชีวศึกษาสมุทรปราการ วิทยาลัย 2 (โรงเรียนการช่างสตรีสมุทรปราการ) มาอยู่อาคาร 1 มีความเป็นมาดังนี้
- พ.ศ.2519 เปิดสอนแผนกพณิชยการเพิ่มอีก 1 แผนก และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสมุทรปราการ เขต 2″
- พ.ศ.2520 เปิดสอนระดับ ปวส.ในแผนกคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
- พ.ศ.2523 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เปิดรับนักศึกษาพณิชยการเพิ่มขึ้น มีทั้งรอบเช้าและรอบบ่าย สร้างอาคาร 4 ชั้น ของคณะคหกรรมศาสตร์ เปิดสอน ปวส.แผนกช่างวิทยุและโทรคมนาคม
- พ.ศ.2524 แผนกพณิชยการ รับนักเรียนเพิ่ม 4 ห้อง ใช้หลักสูตร ปวช2524 เปิดสอน ปวท.แผนกวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล
- พ.ศ.2527 คณะบริหารธุรกิจ เปิดรับ ปวส.เละปวท. สาขาบริหารธุรกิจ และระดับ ปวท.แผนกวิชาช่างไฟฟ้า และบริหารธุรกิจและได้รับครุภัณฑ์สำนักงานและเครื่องพิมพ์ดีด สร้างอาคาร 3ชั้น คณะศิลปหัตถกรรม และแผนกวิชาเขียนแบบเครื่องกล
- พ.ศ.2530 เริ่มโครงการจัดตั้งคณะวิขาเทคนิคการผลิต ตามมาตราฐานอุตสาหกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย UNDP และ TLO ใน4สาขา
– TOOL & DIE MAKING AND HEAT TREATMENT
– CAD/CAM-NC/CNC PROGRAMMING
– METROLOGY&QUALTTY CONTRAC
– PLASTIC TRANSFoRMATION TECNOLOGY - พ.ศ.2531 ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ประเภทวิทยาลัยเทคนิคระดับชาติ และได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานเทคนิคการผลิต 2 หลัง
- พ.ศ.2533 เปิดสาขาเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม ร่วมมือกับบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทยจำกัด เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาช่างยนต์
- พ.ศ.2534 ได้รับงบประมาณปรับปรุงสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรม ได้แก่ ช่างเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรม เทคนิคอุตสาหกรรม ช่างกลโรงงาน อิเล็กทรอนิกส์
- พ.ศ.2536 ร่วมมือกับบริษัท ซัมมิท โอโต้ บอดี้ อินดัสตรี จำกัด บริษัท เอส เอ็น เอ็น อุปกรณ์และแม่พิมพ์ จำกัด รับนักศึกษาระดับ ปวส.สาขา CAD/CAM-CNC เข้าฝึกงานตามหลักสูตรระดับ
- พ.ศ.2537 รับฝากนักเรียนระดับ ปวช.จากวิทยาลัยกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ จำนวนปีละ 80 คน เป็นระยะประมาณ 3 ปี
เริ่มโครงการช่วยเหลือ THAI CANADIANGASTRAININGCENTERระหว่างประเทศแคนาดา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเพื่อเตรียมรับนักศึกษาระดับ ปวส.สาขาเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติพ.ศ.2540 เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาเทคโนโลยีก๊าซธรมชาติเปิดสอนระดับ ปวส.สาขาเทคนิคช่างกลเรือพาณิชย์ ตามโครงการร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษากับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
พ.ศ.2541 วิทยาลัยมีอายุครบ 60 ปี จำนวน9คณะ 22 แผนกวิชา เปิดทำการสอน 4 ประเภทวิชา คือ ช่างอุตสาหกรรม คหกรรมศาสตร์ ศิลปหัตถกรรรม และบริหารธุรกิจระดับ ปวช ปกติมี 10 สาขาวิชา 8 กลุ่มวิชาชีพ ระดับ ปวช ทวิภาคี 7 สาขาวิชา 4 กลุ่มวิชาชีพ ระดับ ปวส.12 สาขาวิชา 15 สาขางาน 3 กลุ่มวิชา จัดการเรียนการสอน 3 ระบบคือ ระบบปรกติ ระบบทวิภาคี และระบบภาคสมทบ - 2542 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นมาตรฐานอาชีวศึกษา
- 2543 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นมาตรฐานอาชีวศึกษา
- 2545 เปิดคณะวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส.
- 2546 เปิดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี ในระดับ ปวส.
- 2547 ร่วมมือกับประเทศสวีเดน เตรียมการเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการพัฒนาบุคลากรโดยการส่งครู – อาจารย์ไปศึกษาต่อประเทศสหรัฐอเมริกา
- 2548 เปิดสอนสาขาวิชาการท่องเที่ยวและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีในระดับ ปวช.
- 2549 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยฯ พระราชทาน (วิทยาลัยฯ ขนาดใหญ่) และได้รับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ด้วยคะแนน 4.31
- 2550 เปิดสอนสาขาวิชาวิชาอุตสาหกรรมฟอกหนัง ระดับ ปวช. ในระดับทวิภาคี
- 2551 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตซอลชายในการแข่งขันกีฬาอาชีวะเกมส์ กีฬาของคนพันธุ์ R ระดับชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการนำเสนอภาษาอังกฤษในการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพ ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร
- 2552 ได้รับรางวัลที่ 1 การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ระดับภาค สาขาออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD) ประเภทเยาวชน
- 2555 ผ่านเกณฑ์การประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ในระดับดีมาก พบว่าผลประเมินในภาพรวมมีค่าคะแนนเท่ากับร้อยละ 91.22 หนังสือรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2555
- พ.ศ. 2556
– กำหนดวิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของวิทยำลัยฯ ขึ้นใหม่เพื่อพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหำวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน (Master of Engineering Program in Sustainable Industrial Management Engineering)
– จัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีทุกสาขาวิชา
– จัดการเรียนการสอนระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์งานวิชาชีพ
– ลงนามความร่วมมือทำงวิชาการพัฒนาบุคลากรด้านอาหารและโภชนาการ ช่างอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างและบริหารธุรกิจ กับ บริษัทเด็กโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด
– ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย เตรียมความพร้อมบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม (ต้นน้ำ)
– ลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษา SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย ในการสื่อสังคมออนไลน์ Edmodo
– ได้รับการประเมินสถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2556 ระดับ 5 ดาว Model C ในสาขาวิชาอุตสาหกรรมฟอกหนัง
– จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อครูที่ปรึกษา
– เปลี่ยนรูปแบบเครื่องแต่งกายนักเรียน นักศึกษา
– ได้รับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ประจำปี 2556 ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาของจังหวัดสมุทรปราการ
– ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลทำประโยชน์แก่สังคม โล่รางวัลผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องศึกษาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ประจำปี 2556 - พ.ศ. 2557
– เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
– ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ T-TEP กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 10 แห่ง เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านช่างบริการยานยนต์
– ลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษากับหอการค้าเยอรมัน-ไทย (German-Thai Chamber of Commerce)
– จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญเหล่าสมุทร
– รับเลือกจาก CPSC เพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพระดับ ASIA PACIFIC
– ลงนามความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพนักศึกษาเทคโนโลยียานยนต์กับบริษัท Mercedes Benz (ประเทศไทย) จำกัด
– จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีภาคพิเศษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์
– ผ่านการประเมินคุณภาพภายในจากหน่วยงานต้นสังกัด (สอศ.) พ.ศ. 2556 ระดับดีมาก - พ.ศ. 2558
– จัดการเรียนการสอน “ทวิศึกษา” ร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 1 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
– สร้างอาคาร 4 ชั้น (อาคารปฏิบัติการอเนกประสงค์พร้อมครุภัณฑ์พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตร.ม.) 1 หลัง (อาคาร 9) - พ.ศ. 2559
– เปิดสอนระดับ ปวส. สาขางานช่างอากาศยาน และเทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง
– เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ ร่วมกับบริษัท Mercedes Benz (ประเทศไทย) จำกัด
– จัดการเรียนการสอน “ทวิศึกษา” สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 1 และสาขางานการบัญชี โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า
– ลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษาสาขางานจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กอเนกประสงค์ กับ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพเครื่องยนต์เล็ก